วันนี้ได้เข้ามาลิ้งบทความของเพื่อนๆ แล้วชอบบทความนี้เพราะคิดว่าในอนาคตพวกเราต้องเป็นครูปฐมวัยเพราะฉนั้นเราควรจะรู้หน้าที่ของครูปฐมวัย เลยเอาบทความนี้มาวัยหน้าลิ้งเพื่อเป็นการสื่อสารให้ทุกคนที่เป็นครูปฐมวัยได้รู้โดยทั่วกัน
บทบาทและหน้าที่ของครูในการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้กับเด็กปฐมวัย
ครูเป็นบุคคลสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ครูที่ต้องการให้เด็กใช้ภาษาดีครูควรเป็นแบบอย่างที่ดี ถ้าอยากให้เด็กพูดครูต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ต้องสนใจและห่วงใยเด็ก ครูต้องวางแผนการจัดประสบการณ์อย่างดี เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาเหมือนการใช้ภาษาปกติในชีวิตประจำวันเพราะเด็กจะเรียนรู้ภาษาตลอดเวลาอยู่แล้วตามธรรมชาติครูปฐมวัยมีบทบาทในการกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก โดยการพัฒนาเด็กต้องเริ่มจากตัวครูก่อน ครูต้องเข้าใจพัฒนาการหรือวัยวุฒิ รวมถึงกระบวนการอบรมเลี้ยงดูให้ถูกต้อง มีความเชื่อมั่นและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงแนวคิดไปในทางที่ดีขึ้น เพราะครูมีบทบาทสําคัญ มีอิทธิพลต่อความรู้สึก ความคิด และการแสดงออกของเด็ก ครูสามารถทําให้เด็กเรียนรู้ภาษา เข้าใจความหมาย เห็นโครงสร้างของภาษาอย่างองค์รวมก่อน เช่น การเรียนรู้จากนิทานทั้งเรื่อง เด็กๆ จะเรียนรู้ว่าในหนึ่งเรื่องนี้มีหลายหน้าที่ครูเปิดอ่าน แต่ละหน้าจะประกอบด้วยกลุ่มคํา ย่อหน้า ประโยค คําและอักษร ซึ่งค่อยแยกย่อยลงไป เห็นวิธีการเรียงร้อยกันของประโยคในภาษาของเรา ที่ครูอ่านหรือพูดให้ฟัง ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้อย่างราบรื่น
วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ฟัง พูด อ่าน เขียน
1.กิจกรรมการฟัง
- ให้เด็กฟังเพลงที่ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อไม่ให้เด็กเบื่อหนาย และสนุกกับการเรียนรู้
- เล่านิทานที่ส่งเสริมคุณธรรมให้เด็กฟัง เช่น นิทานที่ส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเเบ่งปัน ช่วยเหลือ ต่อกัน หรือ นิทานที่ส่งเสริมหน้าที่ของตน
2.กิจกรรมการพูด
- เปิอโอกาสให้เด็กเล่าสิ่งที่เด็กประทับใจ ให้เพื่อนๆและครูฟัง
- ให้เด็กพูดหรือเล่าภาพที่ครูเตรียมไว้ให้ต่อเป็นเรื่องราวๆนึ่ง
3.กิจกรรมการอ่าน
- ส่งเสริมให้เด็กอ่านเรื่องราวจากภาพ
- ให้เด็กรู้จักการอ่านป้ายต่างๆที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น ไฟเขียวไฟแดง ป้ายสถานีตำรวจ ป้ายโรงพยาบาล ป้ายโรงเรียน ป้ายบ้านเลขที่
4.กิจกรรมการเขียน
- ส่วนใหญ่กิจกรรมการเขียนของเด็กปฐมวัยจะเป็นกิจกรรมศิลปะ เพื่อให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อนิ้วมือ อีกทั้งยังส่งเสริมให้เด็กมีความคิดอิสระในการเขียน
ซึ่งจะทำให้เด็ก สนุก เเละไม่เบื่อหน่ายในการเขียน
- ให้เด็กฟังเพลงที่ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อไม่ให้เด็กเบื่อหนาย และสนุกกับการเรียนรู้
- เล่านิทานที่ส่งเสริมคุณธรรมให้เด็กฟัง เช่น นิทานที่ส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเเบ่งปัน ช่วยเหลือ ต่อกัน หรือ นิทานที่ส่งเสริมหน้าที่ของตน
2.กิจกรรมการพูด
- เปิอโอกาสให้เด็กเล่าสิ่งที่เด็กประทับใจ ให้เพื่อนๆและครูฟัง
- ให้เด็กพูดหรือเล่าภาพที่ครูเตรียมไว้ให้ต่อเป็นเรื่องราวๆนึ่ง
3.กิจกรรมการอ่าน
- ส่งเสริมให้เด็กอ่านเรื่องราวจากภาพ
- ให้เด็กรู้จักการอ่านป้ายต่างๆที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น ไฟเขียวไฟแดง ป้ายสถานีตำรวจ ป้ายโรงพยาบาล ป้ายโรงเรียน ป้ายบ้านเลขที่
4.กิจกรรมการเขียน
- ส่วนใหญ่กิจกรรมการเขียนของเด็กปฐมวัยจะเป็นกิจกรรมศิลปะ เพื่อให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อนิ้วมือ อีกทั้งยังส่งเสริมให้เด็กมีความคิดอิสระในการเขียน
ซึ่งจะทำให้เด็ก สนุก เเละไม่เบื่อหน่ายในการเขียน
กิจกรรมส่งเสริมศลปะด้านภาษา
การเรียนรู้ภาษาของเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยการปฏิบัติจริงผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าจะส่งผลต่อพัฒนาการอย่างรอบด้าน ทั้งด้านพัฒนาการการเรียนรู้ที่จะทำงานด้วยตนเอง สังคม อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา และร่างกาย นอกจากนี้เด็กยังซึมซับเกี่ยวกับการสร้างนิสัยที่ดี และบูรณาการทั้งองค์ความรู้ เจตคติ แล้วนำไปใช้ในการดำรงชีวิต สามารถดูแลตนเอง อยู่ร่วมกันกับครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน และสังคมตามบริบทวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ในสังคมและชุมชนนั้นๆ เมื่อมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเป็นวิถีการดำรงชีวิตของเด็กไทย จึงสามารถธำรงรักษาและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้ยั่งยืนอยู่คู่คนไทยและชาติไทยต่อไปได้ การนี้พ่อแม่ ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญต่อการเชื่อมโยงทักษะชีวิตของเด็กจากห้องเรียนสู่การดำเนินชีวิตที่บ้านอย่างเป็นเอกภาพ ดังนั้นการประสานร่วมมือระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมมือกันพัฒนาเด็กให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อวิถีชีวิตที่ดีงามของเด็กไทยสืบไป
จุดเริ่มต้นของภาษา
การพัฒนาการฟังและการพูด เริ่มต้นจากที่บ้าน การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่อยู่แวดล้อมมากเพียงใด เด็กก็จะมีพัฒนาการฟังและการพูดมากเพียงนั้น เด็กทุกคนเกิดมาพร้อมกับความสามารถในการเรียนรู้ภาษาโดยเด็กจะเรียนรู้การใช้ภาษาของตนทั้งด้านความหมายประโยคและเสียงจากสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ พ่อแม่เป็นสิ่งแวดล้อมทางภาษาของเด็ก เด็กเรียนรู้ภาษาพูดโดยไม่มีแบบแผนซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ ดังนั้นการสอนภาษาให้กับเด็กที่โรงเรียนควรสอนให้ง่ายเหมือนกับการเรียนรู้มีบ้าน เด็กที่มาจากครอบครัวที่สนใจพูดกับเด็กไม่ว่าเด็กจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตามเด็กจากครอบครัวนั้นจะสามารถแสดงออกได้มากกว่าเด็กที่มาจากครอบครัวที่พูดน้อย ทั้งนี้การที่เด็กสนทนาบ่อย ๆ ทำให้เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ ได้คิดได้สื่อสารได้แสดงออกซึ่งมีผลต่อพัฒนาการแสดงออก และสติปัญญารวมถึงพัฒนาการทางสังคมด้วย การพัฒนาภาษาควรเริ่มตั้งแต่เด็กปฐมวัยเพราะเป็นวัยที่มีพัฒนาทางการทางภาษาเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว ภาษาไม่เป็นเพียงเครื่องมือ สื่อความหมายเท่านั้นแต่ยังเป็นแนวทางในการแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์การส่งเสริมให้เด็กใช้ภาษาที่ถูกต้องจึงช่วยให้เด็กสามารถแสดงความคิดความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น”
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)